มาตรา 40(ใหม่) แตกต่างจาก มาตรา 33,39 อย่างไร?
เมื่อเอ่ยถึงตัวเลข 33,39 และ 40 ลูกจ้างในปัจจุบันเข้าใจดีว่าเป็นตัวเลขที่เรียกขานผู้ประกันตนตามพระราชบัญญัติประกันสังคม 2533 แต่เข้าใจแตกต่างกัน เพราะ 33,39,40 เป็นแบ่งชนิดของผู้ประกันตน
ไว้ และแบ่งการได้รับสิทธิประโยชน์ไว้แตกต่างกัน ดังนั้นในสาระน่ารู้ฉบับนี้จึงขอทำความเข้าใจกับลูกจ้างทั้ง 3 ประเภทให้เข้าใจเสียก่อนว่าถ้าตนเองจะเป็นผู้ประกันตนตามพระราชบัญญัติประกันสังคม พ.ศ. 2533 จะได้รับสิทธิอย่างไรบ้าง
33 หมายถึงลูกจ้างซึ่งเป็นผู้ประกันตนตามมาตรา 33 ในพระราชบัญญัติประกันสังคม พ.ศ.2533 ซึ่งผู้ประกันตามมาตรา 33 จะต้องจ่ายเงินสมทบในอัตรา 5% ของค่าจ้างสูงสุดไม่เกิน 15,000 บาท ( 750 บาท) และอัตราค่าจ้างต่ำสุดไม่ต่ำกว่า 1,650 บาท (83บาท) โดยจะได้รับสิทธิ 7 ประการดังนี้
(1) ค่ารักษาพยาบาลกรณีเจ็บป่วย (นอกงาน)
(2) ตาย
(3) คลอดบุตร
(4) ทุพลภาพ
(5) สงเคราะห์บุตร
(6) ชราภาพ
(7) ว่างงาน (ต้องไม่ใช่กรณีถูกไล่ออกจากงาน)
39 หมายถึงลูกจ้าง ที่พ้นจากการเป็นลูกจ้างไปแล้ว แต่ประสงค์จะอยู่ในการคุ้มครองของพระราชบัญญัติประกันสังคมอีกต่อไป ในกรณีเช่นนี้ ผู้ที่จะเป็นผู้ประกันตนต่อไปจะต้องสมัครภาย
ใน 6 เดือนนับแต่วันที่พ้นจากการเป็นผู้ประกันตนมิฉะนั้นจะหมดสิทธิ ในการเป็นผู้ประกันตนตามมาตรา 39จะต้องจ่ายเงินสมทบฝ่ายเดียว คือ 4,800 บาท คิดเป็นเงินสมทบ 432 บาทหรือ 9% ทั้งนี้ผู้ประกันตนจะได้รับผลประโยชน์ตอบแทน 6 กรณีได้แก่
(1) เจ็บป่วย
(2) ตาย
(3) คลอดบุตร
(4) ทุพลภาพ
(5) สงเคราะห์บุตร
(6) ชราภาพ
40 หมายถึงประชาชนทั่วไป ที่ประสงค์จะผู้ประกันตนตามมาตรา 40 ผู้ประกันตนตามมาตรา นี้
ไม่ได้เป็นลูกจ้างเป็นประชาชนที่ทำงานอิสระ แต่ประสงค์จะเข้าอยู่ในการคุ้มครองของพระราชบัญญัติประกันสังคม 2553ทั้งนี้ผู้ประกันตนจะต้องจ่ายเงินสมทบอัตราเดียวคือ 280 บาทต่อเดือน และจะได้รับประโยชน์ดังนี้
(ก) ได้ค่าทดแทนการขาดรายได้ในกรณีพักรักษาตัวในโรงพยาบาลครั้งละ 1,000 บาท ปีละไม่เกิน
2 ครั้ง
(ข) ตายได้ค่าทำศพ 30,000 บาท
(ค) คลอดบุตรครรภ์ละ 3,000 บาท ไม่เกิน 2 คน
(ง) ทุพลภาพได้เงินช่วยเหลือ 1,000 บาทต่อเดือนเป็นระยะเวลา 15 ปี
(จ) ชราภาพเมื่ออายุครบ 60 ปี จะได้เงินบำเหน็จคืนเท่ากับที่ประกันสังคมหักไว้ 2 เท่า (ประกันสังคม
จะหักจากเงินที่เก็บ 100 บาทเป็นเงินค่าชราภาพที่เหลือ 180 บาทเป็นกรณีอื่น)
หมายเหตุ เริ่มสมัครมาตรา 40 ได้ตั้งแต่วันที่ 1 พฤษภาคม 2554 เป็นต้นไป
ที่มา สำนักงานประกันสังคม
จัดทำโดย www.thei99account.com
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น